แบบหลังคาบ้าน ที่เหมาะกับเมืองไทย
แบบหลังคาบ้าน ที่คอยคุ้มภัยเราจากแดดฝน และลมพายุ ว่ามีรูปแบบอะไรกันบ้าง แล้วแต่ละแบบมีจุดเด่นที่น่าสนใจอย่างไร แล้วแบบไหนที่เหมาะสมกับบ้านเมืองของเรากันแน่ แล้วถ้าไม่เหมาะแต่เราอยากทำแบบนั้น เราต้องเสริมเติมแต่งอย่างไรเพื่อให้บ้านอยู่แล้ว “สบาย และ ปลอดภัย” แต่ก่อนจะไปดูประเภทของหลังคาบ้านเรามาทำความรู้จักบ้านเรากันซักหน่อยดีไหมตกแต่งบ้าน สไตล์โมเดิร์น
แบบหลังคาบ้าน ที่เหมาะกับเมืองไทย

หลังคาแบบหน้าจั่ว เป็นรูปแบบหลังคาดั้งเดิมของภูมิภาคเรา คุณสมบัติเด่นคือบ้านจะเย็นเพราะความร้อนในบ้านจะลอยตัวมาอยู่ที่บริเวณหน้าจั่วด้านบนหมด หากทำช่องระบายอากาศบริเวณนี้ก็ยิ่งเพิ่มการระบายความร้อนภายในบ้านให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนขององศาความเอียงของหลังคานั้นก็ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เราจะนำมามุงหลังคา เช่นถ้าเป็นกระเบื้องลอนเล็กก็ต้องทำหลังคาให้เอียงอย่างน้อย 15 องศา เพื่อกันน้ำย้อน แต่ถ้าใช้หลังคาเหล็ก (metal sheet) ก็สามารถลดองศาหลังคาลงมาเหลือเพียง 3-5 องศาได้เลยทีเดียว
หลังคาแบบจั่วผสมปั้นหยา แบบหลังคาประเภทนี้เห็นได้ชัดในเรือนไทยภาคกลาง ซึ่งมักจะทำแบบหลังคาบ้านทรงปั้นหยาไว้ชุดล่างเพื่อกันแดดฝนได้อย่างดี และทำหลังคาทรงจั่วไว้ด้านบนเพื่อระบายอากาศและความร้อนอีกชั้น หลังคาแบบนี้กำลังเป็นที่นิยมในงานรีสอร์ท แต่การก่อสร้างจะค่อนข้างซับซ้อนกว่า 2 แบบแรกมาก
เทคนิคการเลือกหลังคาให้บ้านเย็น แบบหลังคาบ้าน
1. เลือกรูปทรงหลังคาที่เหมาะกับบ้านและเหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทย
แน่นอนครับว่าเรื่องบ้านหลายคนเลือกจากรูปแบบความสวยงามและสไตล์มาเป็นอันดับแรก ที่จริงแล้วรูปทรงหลังคาที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทยและมีการระบายอากาศที่ดีคือหลังคาทรงจั่วครับ แต่ยุคนี้ก็มีบ้านแนวต่างๆที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจมากขึ้นและใช้รูปทรงหลังคาที่แตกต่างกันไป เช่น แบบบ้านโมเดิร์นหรือแนวลอฟท์ใช้หลังคาสโลปต่ำก็ต้องเพิ่มการให้ความสำคัญในการเลือกวัสดุที่จะช่วยลดความร้อนครับ
2. เลือกหลังคาสีอ่อนที่ถูกออกแบบมาเพื่อการสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ 80%
เมื่อพูดถึงวัสดุมุงหลังคาเราก็คงนึกถึงสีสันที่มีให้เลือกอย่างมากมายตามความต้องการ แต่ทราบไหมว่านอกจากความสวยงาม สีของหลังคามีผลต่อการดูดซึมความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านเป็นอย่างมาก โดยหลังคาสีโทนขาวหรือโทรอ่อน สามารถสะท้อนความร้อนได้มากถึง 80% และดูดซับความร้อนไว้น้อยเพียง 20% ในขณะที่หลังคาอื่นๆเช่นสีดำเข้มจะสะท้อนความร้อนออกไปเพียง 5% และดูดความร้อนไว้ถึง 95% ทราบอย่างนี้แล้วก็อย่างลืมเลือกสีหลังคาที่อ่อนเพื่อบ้านเย็น ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกหลากกลาย เช่น สีกลุ่มคูลซีรีส์ เป็นต้นครับ
3. เลือกวัสดุที่ทนทานต่อแดดและฝน ปราศจากแร่ใยหินและป้องกันการเกิดราดำ
นอกจากความสวยงาม รูปทรงและกันความร้อนแล้ว เรื่องของความแข็งแรงทนทานก็มีความสำคัญมาก แน่นอนว่าบ้านของเราต้องเจอทั้งแดดและฝน ปัญหาต่างๆที่จะตามมาก็มีนะครับ เช่นการเกิดราดำบนหลังคาที่เกิดจากการสะสมความชื้นของหลังคา รวมถึงควรเลือกวัสดุที่ปราศจากแร่ใยหินซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอดและมะเร็งปอดด้วยนะครับ ดังนั้นควรเลือกวัสดุที่น่าเชื่อถึงและมีการรับรองคุณภาพด้วยครับ
หลังคาปัญหาหลักของบ้านร้อน
ปัญหาบ้านร้อนเป็นของคู่กันกับหน้าร้อน แต่หากเจ้าของบ้านเห็นว่าปัญหานี้ทำลายสภาวะอยู่สบายมากเกินไปจนต้องหาวิธีปรับปรุงให้บ้านเย็นขึ้น แนะนำให้เริ่มทำ “หลังคากันร้อน” ก่อน จะตรงจุดที่สุด เพราะ 70% ของความร้อนที่เข้าสู่บ้านมานั้นจากทางหลังคา และวิธีที่ก็ไม่ได้ยุ่งยากถึงขั้นรื้อหลังคากันใหญ่โตแต่อย่างใด เพียงแค่ปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ โดยอาศัย 2 หลักการคือ
- การใช้วัสดุป้องกันความร้อน ช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากโถงหลังคาเข้าสู่ตัวบ้าน เช่น ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฝ้าเพดานสะท้อนความร้อน
- การระบายความร้อนออกจากโถงหลังคา โดยสร้างช่องทางให้ความร้อนและอากาศสามารถระบายออกได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ฝ้าชายคาระบายอากาศ ติดตั้งชุดกระเบื้องหลังคาระบายอากาศ รวมถึงการใช้ระบบช่วยเร่งอัตราการระบายอากาศ
1) ติดฉนวนกันความร้อน STAY COOL ที่ฝ้าเพดานชั้นบน
ฉนวนกันความร้อน STAY COOL เป็นวัสดุใยแก้ว ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานความร้อน เมื่อนำมาติดตั้งที่ฝ้าเพดานชั้นบนสุด ตัวฉนวนจะทำหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากบริเวณโถงหลังคาผ่านเข้ามาภายในตัวบ้าน ฉนวนมีให้เลือก 2 ความหนา คือ 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว ยิ่งหนายิ่งกันความร้อนได้มาก(หากโครงคร่าวฝ้าเพดานรับน้ำหนักได้ดี แนะนำให้ใช้รุ่นหนา 6 นิ้ว จะได้หลังคากันร้อนที่มีประสิทธิภาพคุ้มค่ากว่า)
2) ติดตั้งแผ่นยิปซัมสะท้อนความร้อน ที่ฝ้าเพดานชั้นบน
หากต้องการทำหลังคากันร้อน แต่กังวลว่าโครงคร่าวฝ้าเพดานจะรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนหลังคาไม่ได้ อาจหันมาใช้วิธีเปลี่ยนฝ้าชั้นบนเป็นแผ่นยิปซัมสะท้อนความร้อนซึ่งมีวัสดุอะลูมิเนียมฟอยล์ประกบอยู่ อะลูมิเนียมฟอยล์มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อน เมื่อนำมาติดตั้งที่ฝ้าเพดานชั้นบนสุด รังสีความร้อนจากโถงหลังคาจะถูกสะท้อนกลับออกไป ทำให้ความร้อนผ่านเข้ามาสู่ตัวบ้านน้อยลง
3) ใช้ฝ้าชายคาระบายอากาศหรือทำระแนงไม้เว้นร่อง
เป็นการทำหลังคากันร้อนโดยสร้างช่องระบายอากาศที่ชายคา เพื่อระบายอากาศและความร้อนจากโถงหลังคาออกไป อุณหภูมิในโถงหลังคาจะได้ลดลง โดยอาจเลือกแนวทางดังนี้
- ใช้แผ่นฝ้าระบายอากาศ ซึ่งมีคุณสมบัติทนความชื้น ใช้งานภายนอกอาคารได้ และไม่เป็นอาหารปลวก โดยอาจเป็น “ฝ้าสมาร์ทบอร์ด” ซึ่งเป็นวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ ทาสีทับได้ มีแพทเทิร์นให้เลือกหลากหลายแบบ (ควรติดตั้งมุ้งลวดกันแมลงเข้าหรือเลือกใช้วัสดุรุ่นที่มีมุ้งลวดในตัว) กับอีกทางเลือกหนึ่งคือ “ฝ้าไวนิล” สีขาว ให้ลุคทันสมัย และมีช่องระบายที่ออกแบบมาเพื่อกันแมลงโดยเฉพาะ
- ใช้ไม้ระแนง เป็นไม้เทียมวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยติดตั้งแบบเว้นร่องให้อากาศและความร้อนจากโถงหลังคาระบายออกไปได้ (ควรติดตั้งมุ้งลวดกันแมลงเข้าหรือเลือกใช้วัสดุรุ่นที่มีมุ้งลวดในตัว)
4) ติดตั้งชุดกระเบื้องหลังคาระบายอากาศ
กระเบื้องหลังคาคอนกรีต และกระเบื้องหลังคาเซรามิกของ บางรุ่น จะมีชุดกระเบื้องพร้อมปล่องระบายอากาศให้เลือกใช้ เพื่อเป็นช่องทางระบายความร้อนออกจากหลังคา ไม่ว่าจะเป็นบ้านสร้างใหม่และบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้วก็สามารถทำหลังคากันร้อนด้วยวิธีนี้ได้ โดยปล่องระบายอากาศจะติดอยู่กับชิ้นกระเบื้องซึ่งผลิตมาเพื่อหลังคาแต่ละรุ่น มีระบบป้องกันการรั่วซึมอย่างดี เจ้าของบ้านจึงไม่ต้องกังวลว่าติดตั้งแล้วจะเกิดปัญหาหลังคารั่วในหน้าฝน
5) ติดตั้งระบบระบายอากาศ AIRflow
เป็นอีกแนวทางทำหลังคากันร้อนโดยอาศัยระบบเร่งอัตราระบายอากาศ ด้วยการดึงอากาศจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน แล้วดูดขึ้นฝ้าเพดานชั้นบนสู่โถงหลังคา ก่อนจะระบายอากาศและความร้อนออกนอกบ้านผ่านช่องอุปกรณ์ที่ติดกับกระเบื้องหลังคา โดยอุปกรณ์หลักที่ใช้ ได้แก่
- Intake Air Grille ช่องเติมอากาศจากนอกบ้าน ซึ่งมีแผ่นกรองอากาศป้องกันฝุ่นและแมลง
- Ceiling Ventilator เป็นอุปกรณ์ติดที่ฝ้าเพดานชั้นบน ทำหน้าที่ดูดอากาศในบ้านขึ้นสู่โถงหลังคา
- Solar Roof Tile Ventilator เป็นชุดกระเบื้องระบายความร้อนออกจากโถงหลังคา
ทั้งนี้ จำนวนอุปกรณ์ที่ติดตั้ง จะถูกคำนวณให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ในบ้าน เพื่อสร้างอัตราการระบายอากาศภายในบ้านที่เหมาะสมอยู่เสมอในทุกฤดู ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไปแม้จะปิดบ้านมิดชิดตลอดตาม