ข้อดีเกี่ยวกับบ้านปูน
ข้อดีเกี่ยวกับบ้านปูน บ้านที่สร้างด้วยระบบ เสา-คาน-พื้น ก่อด้วยอิฐและฉาบปูน โครงสร้างหล่อจากคอนกรีตเสริมเหล็ก และบ้านปูนเปลือยหรือบ้านสไตล์ลอฟท์ บ้านที่โชว์โครงสร้างและผนังปูนโดยไม่มีการนำวัสดุอื่นได้มาฉาบปิดทับตกแต่ง และบ้านปูนที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast ซึ่งเป็นระบบผนังรับน้ำหนักที่หล่อสำเร็จจากโรงงานนำมาประกอบที่หน้าไซส์งาน
ปัจจุบันการสร้างบ้านมีระบบก่อสร้างที่หลากหลาย แต่ที่พบเห็นในประเทศไทยมากที่สุด คือบ้านปูนและบ้านไม้ โดยบ้านไม้ส่วนใหญ่จะพบเห็นในชนบท ส่วนบ้านปูจะพบเห็นได้ทั่วไป ขณะที่ระบบก่อสร้างใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้ คือ บ้านปูนที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast และบ้านโครงสร้างเหล็กผสมปูน โดยระบบก่อสร้างที่แพร่หลายในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ขณะนี้ คือ บ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast ซึ่งจะพบเป็นได้ในโครงการบ้านจัดสรรทั่วไป แต่งบ้านมินิมอล แบบยุคใหม่ห่างไกลโรค
ทำไมบ้านปูนถึงเป็นที่นิยม – ข้อดีเกี่ยวกับบ้านปูน
ความนิยมบ้านปูน ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบ้านปูน มีราคาถูกและแข็งแรงมากกว่า เมื่อเทียบกับบ้านไม้นับวันราคามีแต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ขณะเดียวกันอายุการใช้งานของบ้านปูน ไม่ว่าจะเป็นบ้านปูนที่สร้างบนที่ดินของตัวเอง หรือบ้านปูนที่ซื้อจากโครงการบ้านจัดสรร ที่ปัจจุบันนิยมก่อสร้างด้วยระบบ Precast นั้น ด้วยโครงสร้างอาคารที่สร้างมาจากปูนซีเมนต์ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานไม่ต่ำกว่า 50 ปี บางหลังหากดูแลและรีโนเวทอยู่เป็นประจำก็มีอายุใช้งานนับ 100 ปี
ข้อดีของบ้านปูน
1. แบบบ้านปูนในปัจจุบันมีให้เลือกจำนวนมาก เจ้าของบ้านสามารถออกแบบและตกแต่งได้ตามชอบ
2. ต้นทุนวัสดุก่อสร้างบ้านปูน ราคาไม่แพง แถมผลิตภัณฑ์และชนิดของปูนในท้องตลาดปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย
3. บ้านปูนสามารถปรับตัวกับสภาพอากาศร้อน อากาศเย็น เช่น กลางวันในหน้าร้อนบ้านปูนจะอยู่เย็นสบาย เพราะปูนช่วยดูดซับความร้อน และในหน้าหนาวปูนจะป้องกันลมเข้าบ้านได้ดีทำให้ภายในบ้านอบอุ่น
4. บ้านปูนเก็บเสียงได้ดี และยังป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกตัวบ้านได้ดีกว่าบ้านไม้ นอกจากนั้นบ้านปูนป้องกันฝุ่นละออง ควัน และกลิ่นต่าง ๆไม่ให้เข้ามารบกวนคนในบ้านได้ดี
ข้อด้อยของบ้านปูน
1. บ้านปูนโดยส่วนใหญ่มักมีปัญหาสีหมองง่าย หลุดลอกร่อน ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องซ่อมบำรุง
2. บ้านปูนมีความยืดหยุ่นน้อย ในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว บ้านปูนจึงเกิดผนังแตกร้าวได้ง่ายกว่าบ้านไม้และบ้านโครงสร้างเหล็ก
3. บ้านปูนจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นอับ และเกิดปัญหาเชื้อราบนผนังได้ง่าย โดยเฉพาะบ้านที่ไม่ได้ทาสีป้องกันเชื้อราเพราะบ้านปูนระบายอากาศได้ไม่ดีนัก
4. บ้านปูน หากได้รับการออกแบบไม่ดี หรือเลือกใช้โทนสีที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้บ้านดูมืดทึบอยู่แล้วอึดอัด
5. การเคลื่อนย้าย ปรับปรุง หรือต่อเติม บ้านปูนจะทำได้ยากกว่าบ้านโครงสร้างเหล็กและบ้านไม้ โดยเฉพาะบ้านปูนที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast ซึ่งนิยมใช้ในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งหากต้องการต่อเติมห้องจะต้องมีวิศวกรคุมงาน ดูแลและให้คำปรึกษา หรือไม่ก็ต้องทุบทิ้งเพื่อสร้างใหม่
การดูแลรักษาบ้านปูน
สำหรับการดูแลรักษาบ้านปูนนั้น อย่างที่ทราบกันดีว่า บ้านปูนจะมีปัญหาในเรื่องของความอับชื้น ทำให้เกิดปัญหาการเกิดเชื้อราได้ง่าย ดังนั้น เจ้าของบ้านจึงต้องหมั่นเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อช่วยในการระบายอากาศและความชื้นภายในบ้าน ซึ่งจะลดปัญหาการเกิดเชื้อราคาบนผนังบ้าน แต่จะให้ดีเจ้าของบ้านควรทาสีป้องกันเชื้อรา ซึ่งจะดีกว่าการเลือกใช้วอลเปเปอร์เพราะในระยะยาวจะเสี่ยงกับการเกิดปัญหาเชื้อราได้
การดูแลรักษาบ้านปูนเปลือย
ส่วนบ้านปูนเปลือยนั้น เนื่องจากต้องใช้เทคนิคการฉาบผนังปูน ที่ใช้เทคนิคความชำนาญเฉพาะทางด้วยการฉาบปูนไม่ให้เกิดรอยแตกลายงา และยังต้องวางแผนระบบท่อร้อยสายไฟไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยที่ต้องไม่ลืมว่าจะต้องเคลือบน้ำยาเคลือบผิวและต้านการดูดซึมน้ำทุก ๆ 1-2 ปี เพื่อป้องความชื้นและคราบสกปรกต่าง ๆ ที่อาจจะซึมเข้าเนื้อซีเมนต์จนเกิดเป็นรอยด่างได้
การดูแลรักษาบ้านปูนระบบ Precast
ขณะที่บ้านปูนที่ใช้ระบบ Precast ซึ่งโดยมากจะเป็นบ้านในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ผู้ซื้อต้องทำใจยอมรับว่าในทุก ๆ 2-3 ปีอาจต้องมีการรีโนเวทสีบ้านใหม่ เพราะบ้านปูนระบบ Precast นั้นแม้จะมีข้อดีของความแข็งแรงของผนังมากกว่าบ้านปูนเปลือย และบ้านก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป
แต่เนื่องจากแผ่นผนังบ้านเป็นระบบที่ผลิตจากโรงงาน ผิวของผนังจึงมีความเรียบมันมากกว่าผนังฉาบปูนธรรมดา ประกอบกับในเนื้อปูนซีเมนต์นั้นผสมน้ำยากันซึมทำให้สีทาบ้านเกาะตัวได้ไม่ดี จึงเกิดการโป่งพองบนผิวผนังบ่อย ๆ ทำให้สีผนังบ้านภายนอกเมื่อถูกแดดนาน ๆ จะเกิดการหลุดล่อนเร็วกว่าบ้านปูนฉาบแบบธรรมดา
ระบบประปา
นอกจากนี้บ้านปูนระบบ Precast ซึ่งเป็นระบบหล่อในโรงงานและนำมาประกอบที่ไซด์งานก่อสร้าง จะมีปัญหาที่พบบ่อย ๆ ก็คือการเชื่อมต่อกันของรอยต่อ ซึ่งอาจจะปัญหาเรื่องการรั่วซึมของระบบประปาภายในบ้าน ดังนั้นเจ้าของบ้านจึงต้องหมั่นดูแลและตรวจสอบการรั่วซึมของระบบประปาภายในบ้านเป็นประจำ
ระบบไฟฟ้า
นอกจากการตรวจสอบดูแลระบบประปาในบ้านแล้ว เรื่องสำคัญที่ต้องตรวจสอบดูแล คือ ระบบไฟฟ้า เนื่องจากบ้านปูนระบบ Precast มีการวางระบบไฟฟ้าแบบท่อล้อยสาย ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือระบบไฟฟ้าลัดวงจรจากความชื้นในท่อร้อยสาย ซึ่งเกิดจากการขนเศษดินและหินขนาดเล็กของมดและแมลงที่เข้ามาอาศัยอยู่ในระบบท่อร้อยสายไฟฟ้า
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในระบบท่อร้อยสายไฟเจ้าของบ้านต้องหมั่นตรวจสอบดูว่าในรอยต่อท่อร้อยสายไฟนั้นเกิดรอยรั่วและมีมดแมลงเข้าไปอาศัยอยู่หรือไม่
อย่างไรก็ดี การเลือกซื้อบ้านนั้น ไม่ว่าจะเป็นบ้านปูน บ้านไม้ หรือบ้านโครงสร้างเหล็ก ต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันออกไป ดังนั้นในการเลือกซื้อบ้านผู้ซื้อควรศึกษาข้อดีข้อเสีย ของบ้านแต่ละแบบให้ดีก่อนตัดสินใจ เพราะหากซื้อไปแล้วไม่ถูกใจ จะขายเพื่อหาซื้อบ้านใหม่นั้น ปัญหาที่จะตามมาไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเลยทีเดียว
แบ่งพื้นที่ห้องนั่งเล่น
การออกแบบพื้นที่ภายในบ้านแบบเปิดโล่ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นอกจากจะสามารถเข้ากับสิ่งรอบข้างได้อย่างเป็นธรรมชาติ ยังเป็นการเปิดประตูสู่การออกแบบใหม่ ๆ ได้อย่างไร้จุดสิ้นสุด หากคุณกำลังคิดจะลงมือสร้างห้องนั่งเล่นแบบเปิดโล่ง และต้องการที่จะเพิ่มพื้นที่แยกสำหรับรับประทานอาหาร ลองดูไอเดียตัวอย่างด้านล่างนี้ ที่จะทำให้คุณสามารถแบ่งพื้นที่ได้อย่างสวยงาม
ให้เอกลักษณ์กับเพดาน
หนึ่งในวิธีอันเรียบง่ายในการออกแบบพื้นที่แยกในห้องนั่งเล่นก็คือการ ตกแต่ง และให้เอกลักษณ์กับเพดาน แบ่งแต่ละพื้นที่ให้อยู่ในเขตของตัวเองด้วยการเพิ่มช่องว่างระหว่างเพดาน เช่นรูปทรงเลขาคณิต การตกแต่งสีให้เด่น หรือให้เห็นได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าแต่ละห้องจะเชื่อมต่อกันแต่การออกแบบรูปลักษณ์ของเพดานก็จะสร้างความงดงามที่แตกต่างให้แต่ละพื้นที่ได้อย่างดี
ใช้สีบ่งบอกพื้นที่
อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อต้องการไอเดียในการทำพื้นที่แบ่งห้อง ก็คือ การเลือกใช้สี ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการแยกห้องนั่งเล่นกับห้องรับประทานอาหารออกจากกัน ให้เลือกสีที่ตัดกันสองสีอย่างชัดเจนในแต่ละห้อง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ จากนั้นคุณสามารถเลือกสีอื่น ๆ เพื่อใช้ตกแต่งเพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเป็นสีไม้โทนอุ่น หรือสีขาวแบบธรรมชาติ ก็เข้ากันได้เป็นอย่างดี
แผงไม้
แผงรางไม้ทำหน้าที่เป็นตัวแบ่งห้องแบบดั้งเดิม ที่มีความงดงามในตัวอยู่แล้ว ไม่ว่าคุณจะเลือกแผงไม้อัดแข็งแบบเปิดสองด้าน ที่สะดวกในการเคลื่อนย้าย หรือไม้แบบบางที่สามารถใช้เป็นที่วางของตกแต่งเพิ่มเติมได้ แต่หากพื้นที่ของคุณมีจำกัด คุณสามารถใช้แท่งไม้แบบเปิดที่วางจากพื้นไปถึงเพดานได้ เพื่อให้ห้องที่โดนแบ่งดูสว่างและร่มเย็น
ผ้าม่านแบบโปร่ง
ด้วยน้ำหนักที่เบาบาง ผ้าม่านแบบโปร่งนั้นเข้ากับห้องนั่งเล่นได้อย่างเป็นธรรมชาติ แบ่งพื้นที่ห้องรับประทานอาหาร และห้องนั่งเล่นออกจากกันได้อย่างง่ายดายด้วยผ้าม่านแบบโปร่ง ทั้งยังสามารถปิดเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว หรือพับขึ้นเพื่อให้เกิดความโล่งสบายระหว่างพื้นที่ได้ตามต้องการ ไม่ว่าคุณจะเลือกผ้าม่านแบบทึบที่มีสีโปร่งแสง หรือลวดลายเตะตา ก็ช่วยเพิ่มคุณลักษณะเฉพาะให้กับพื้นที่ของคุณได้ไม่ต่างกัน
จัดตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์
ในขณะที่ไอเดียในการแบ่งห้องอื่น ๆ จะมุ่งเน้นไปที่พื้นและเพดาน แต่ยังมีวิธีที่รวดเร็วเพียงแค่จัดตำแหน่งฟอร์นิเจอร์ ก็สามารถสร้างความแตกต่าง และใช้ประโยชน์ได้ไม่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งของฟอร์นิเจอร์เพื่อแบ่งพื้นที่แต่ละส่วนภายในบ้าน จัดกลุ่มฟอร์นิเจอร์ห้องรับประทานอาหารให้อยู่อีกที่ และเฟอร์นิเจอร์สำหรับห้องนั่งเล่นให้อยู่อีกที่หนึ่ง นอกจากนั้นการใช้ตู้ลิ้นชักแบบยาว ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแบ่งห้องแบบง่าย ๆ ได้เช่นกัน
ฉากกั้นห้อง
สุดท้ายนี้ หากคุณเลือกที่จะใช้แผงกั้นห้องเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวในการแบ่งห้องแล้วละก็ มันถือเป็นตัวเลือกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมายาวนาน ไม่ว่าจะในห้องนอน หรือทำพื้นที่เปลี่ยนชุดเพื่อประหยัดพื้นที่ ทั้งยังเพิ่มเสน่ห์แบบวินเทจให้กับห้องนั่งเล่นและห้องอื่น ๆ ของคุณอีกด้วย เพื่อความไร้ที่ติ ควรใช้แผงกั้นแบบตั้งที่มีลวดลายหรูหราเป็นเอกลักษณ์
ผังบ้านคืออะไร ข้อดีเกี่ยวกับบ้านปูน
1. ผังบ้านคืออะไร
ผังบ้าน หรือผังอาคาร อธิบายง่าย ๆ คือ เป็นการกำหนดตำแหน่งและขอบเขตของสิ่งก่อสร้างที่จะสร้างโดยอ้างอิงจากแบบก่อสร้างให้สัมพันธ์กับขนาดแปลงที่ดิน เพื่อกำหนดแนวเส้น Grid line และค่าระดับของตัวบ้านไว้ใช้ในการอ้างอิง เมื่อต้องหาระยะร่น หรือระยะต่าง ๆ ของบ้าน
ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญก่อนจะลงมือก่อสร้างบ้านบ้าน หรืออาคาร เพื่อให้เจ้าของบ้าน สถาปนิก หรือผู้ออกแบบบ้าน วิศวกร ผู้รับเหมาได้มีความเข้าใจตรงกัน ทั้งการวางเสาเข็ม ฐานราก ต่อม่อ หรือการถมดิน
2. ผังบ้านสำคัญอย่างไร
หลายครั้งในขั้นตอนการออกแบบบ้าน หรือวางผังบ้าน สถาปนิกไม่ได้วัดขนาดที่ดินจริง ทำให้ในขั้นตอนของการวางผังบ้าน เกิดปัญหาวางตำแหน่งบ้านไม่ได้ตามแบบก่อสร้างที่ออกแบบไว้ เพราะขนาดของบ้านอาจใหญ่กว่าขนาดของที่ดิน หรือระยะถอยร่นไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ เช่น เกิดกรณีหลังคาเลยออกไปนอกเขตที่ดิน
ดังนั้น ก่อนการออกแบบบ้านหรือวางผังบ้าน จึงจำเป็นต้องมีการวางผังบ้านให้ชัดเจนก่อน โดยเฉพาะบ้านในโครงการจัดสรร เพราะขนาดแปลงที่ดินส่วนใหญ่ถูกกำหนดไว้ตายตัวแล้ว ซึ่งต่างกับบ้านที่ก่อสร้างบนที่ดินของตัวเองที่สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งบ้านได้ตามความต้องการ
3. ขั้นตอนการวางผังบ้าน
สิ่งสำคัญในการวางผังบ้าน คือ ควรตรวจสอบหมุดหลักเขตที่ดินกับโฉนดที่ดินว่าครบถ้วนตามแบบหรือไม่ หากเป็นอาคารขนาดเล็กอาจใช้วิธีขึงเอ็นให้เห็นเป็นแนว แล้วทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งฐานรากให้เห็นชัดเจน หรืออาจใช้วิธีพ่นสีเพื่อแสดงตำแหน่งฐานราก
ทั้งนี้ ควรตรวจสอบอีกครั้งว่าองค์ประกอบอาคารที่ยื่นออกมาตามแบบนั้นถูกต้องตามแบบก่อสร้างหรือไม่ เมื่อได้ระยะที่จะวางผังแล้วค่อยตอกหลักผังให้แน่นและมั่นคง
ในขั้นตอนนี้อาจพบอุปสรรคที่หน้างาน เช่น มีแนวต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้ แต่ไม่อยากตัดทิ้ง ทำให้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับระยะต่าง ๆ ให้เหมาะสม โดยอาจพิจารณาขยับผังบ้านที่จะก่อสร้างให้เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม เจ้าของบ้านควรดูผังบ้านให้เป็น เช่น การอ่านแบบแปลนของฐานราก เพื่อให้ดูการวางผังบ้านรอบบริเวณการก่อสร้างของช่างเบื้องต้นได้ รวมถึงพิจารณาว่าระยะถอยร่นของบ้านทุกด้าน ถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ. ควบคุมอาคารหรือไม่ โดยควรให้ผู้รับเหมาทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งแนวเสา พื้นที่ฐานรากให้ชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบแนวผังบ้านว่าถูกต้องตามแบบหรือไม่ ในขั้นตอนนี้เจ้าของบ้านอาจว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ
เมื่อติดตั้งการวางผังบ้านเสร็จ จะทำให้รู้ตำแหน่งของเสาและฐานราก เพื่อให้สามารถดำเนินตามขั้นตอนการก่อสร้างบ้านให้เป็นไปตามแบบก่อสร้าง และมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
แปลนบ้านเลือกอย่างไรให้เหมาะกับการอยู่อาศัย ออกแบบภายใน
ในการเลือกซื้อบ้านโครงการจัดสรร หรือสร้างบ้าน ผังบ้านจะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของบ้านที่ทำให้บ้านมั่นคง แข็งแรง ส่วนแปลนบ้านจะเป็นการกำหนดตามไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย ซึ่งรวมถึงพื้นที่ใช้สอย และการออกแบบให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม เช่น การวางผังบ้านให้ถูกต้องตามทิศทางลมและแสงแดด เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานในบ้าน ยกตัวอย่างเช่น
รวมบทความรักษ์โลก ช่วยประหยัดพลังงาน และลดโลกร้อน
1. ห้องนอน ควรตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เพื่อรับแสงแดดอ่อน ๆ ที่แสนสดใสในยามเช้า อีกทั้งเมื่อถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์โคจรอ้อมทิศใต้ ห้องที่อยู่ทางทิศนี้จะไม่สะสมความร้อน ทำให้นอนหลับสบายในยามค่ำคืน ยิ่งถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว ก็จะมีลมเย็น ๆ พัดโชยเข้ามาด้วย
2. ห้องรับแขกและห้องทำงาน ควรตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรับแสงแดดในช่วงเช้าที่ยังไม่ร้อนจนเกินไป เพราะในช่วงบ่ายแสงแดดก็ไม่สาดเข้ามา จึงสามารถนั่งทำงานหรือนั่งเล่นได้อย่างรื่นรมย์ตลอดวัน สำหรับห้องรับประทานอาหาร ควรตั้งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรับลมจากทิศใต้สำหรับการระบายอากาศ
3. ที่จอดรถและห้องเก็บของ ควรอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเป็นตัวกั้นไม่ให้ความร้อนเข้าไปถึงตัวบ้านได้ แต่ก็ควรมีการระบายอากาศที่ดีด้วย ไม่เช่นนั้นฝุ่นและควันอาจเป็นต้นเหตุให้ข้าวของในพื้นที่ส่วนนี้เสียหายได้และควรมีชายคายาวเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันแดดในช่วงบ่าย และป้องกันฝนสาดเข้าสู่ตัวบ้าน
4. ห้องน้ำ ห้องครัว ส่วนซักล้าง ควรตั้งไว้ทางทิศตะวันตก เพื่อให้แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรคและลดกลิ่นอับอันไม่พึงประสงค์ ทั้งยังช่วยป้องกันความร้อนและความชื้นเข้าไปยังพื้นที่ใช้งานในบ้าน และส่วนซักล้างควรอยู่ทางทิศตะวันตก เพื่อใช้ประโยชน์จากแสงแดดในช่วงบ่าย ขณะเดียวกันก็ควรมีชายคาที่ยื่นยาวเพื่อป้องกันแดดแรง และป้องกันฝนสาดในช่วงฤดูฝน
จะเห็นได้ว่าผังบ้านและแปลนบ้านเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เจ้าของบ้านควรที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับผังบ้าน และแปลนบ้าน เนื่องจากส่งผลต่อการใช้ชีวิตในบ้านไปตลอดการอยู่อาศัย